วันเสาร์ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2557

pofile

ประวัติส่วนตัว



ชื่อ : นางสาวภาณุมาศ       นามสกุล : สุทธิรักษ์
ชื่อเล่น : มิ้ว
อายุ : 16 ปี
วัน เดือน ปีเกิด 4 มีนาคม 2541
สัญชาติ ไทย
เชื้อชาติ  ไทย
ศาสนา พุทธ
กรุ๊ปเลือด o
ที่อยู่ 18 ถ.วัดโพธิ์ ต.ตลาด อ.เมือง จ.สุราษฎร์ธานี 84000
สีที่ชอบ : ฟ้า
งานอดิเรก : อ่านนิยาย ฟังเพลง
Facebook : pnm mimilk
Line : ppmimimimilk
Ig : ppmimimimilk
E-mail panumas_solo@hotmail.com

หลักการประกอบอาหาร

ความหมายของการประกอบอาหาร

·         สิ่งมีชีวิตทุกชนิดสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ในโลกนี้ต้องอาศัยอาหาร น้ำ และอากาศองค์ประกอบทั้ง อย่างนี้ถ้าสิ่งมีชีวิตทุกชนิดมีอย่างสมดุลก็จะทำให้เกิดความแข็งแรง มนุษย์เราก็เช่นกัน ถ้าเราได้รับประทานอาหารที่เหมาะสม มีสารอาหารที่ครบถ้วน ได้รับน้ำที่สะอาดเพียงพอ ได้รับอากาศที่บริสุทธิ์และไม่เป็นพิษ เราก็จะมีสุขภาพแข็งแรงทั้งร่างกายและจิตใจ
·         การประกอบอาหารแต่ละชนิดนั้น เมื่อทำเสร็จแล้วผู้ประกอบอาหารและผู้รับประทานอาหารก็หวังว่าจะได้อาหารที่ดูแล้วน่ารับประทาน มีกลิ่นหอม มีรสชาติอร่อย และประการสุดท้ายก็คือ จะต้องไม่ให้เสียคุณค่าทางอาหารด้วย
·         ดังนั้นอาหารที่เราปรุงออกมาแต่ละชนิดนั้นจะต้องได้ทั้ง รสพร้อมกับมีคุณค่าทางโภชนาการด้วย ผู้ประกอบอาหารที่จะทำให้ได้ครบตามที่กำหนดหรือได้มากที่สุดนั้นจะต้องเป็นผู้ที่มีความสามารถทั้งในเรื่องของศาสตร์และศิลปะในการประกอบอาหาร

·         ในด้านศาสตร์ผู้ประกอบอาหารจะต้องนำความรู้ด้านวิทยาศาสตร์มาใช้ เช่น เรื่องอากาศ น้ำ และความร้อนที่มีผลต่อการประกอบอาหาร เช่น ทำให้อาหารเปลี่ยนแปลงไป ทำให้คุณค่าทางโภชนาการเสียไปด้วย



·         ในด้านศิลปะเราจะต้องรู้ตั้งแต่การจัดโต๊ะอาหาร การจัดอาหารในแต่ละจานทำอย่างไรจึงจะแลดูสวย ใช้ถ้วยชามขนาดไหน แบบใดจึงจะเหมาะสม ในแต่ละจานนั้นมีความหลากหลายของสีผักและอาหารหรือไม่ และประการสุดท้ายต้องมีกลิ่นหอมชวนรับประทาน ดังนั้นการประกอบอาหารจึงต้องมีการวางแผนการจัดรายการอาหาร เพื่อให้อาหารแต่ละมื้อแต่ละวันมีความสมดุลในด้านสารอาหารคุณค่าทางโภชนาการง


ข้อคำนึงในการประกอบอาหาร


ปัจจัยที่ต้องคำนึงในการประกอบอาหาร 

อากาศน้ำ, ความร้อน และความเป็นกรดและด่าง

ความร้อนจะมีความสำคัญมากกว่าอย่างอื่น อากาศและการเติมออกซิเจนก็ส่งผลทำให้อาหารมีการเปลี่ยนแปลงของคุณค่าทางโภชนาการของอาหารแต่ทั้งอากาศน้ำและความร้อนต้องสัมพันธ์กันขณะปรุงอาหาร ส่วนความเป็นกรดและด่างก็มีความสำคัญที่ต้องคำนึงเช่นกัน 
น้ำกับการปรุงอาหาร ในการปรุงอาหารนั้นเราจะจำเป็นต้องใช้น้ำค่อนข้างมากไม่ว่าจะเป็นน้ำที่ใช้ล้าง ใช้หุงต้ม ในการล้างผักผลไม้เราควรล้างทั้งผลหรือเป็นกาบๆเพื่อรักษาสารอาหารชนิดที่ละลายได้ไว้ ส่วนน้ำที่ใช้หุงต้มนั้นควรคำนึงถึง น้ำที่ใช้นั้นรับประทานหรือทิ้ง  ถ้าเรารับประทานน้ำแกงก็ไม่ต้องกังวลว่าจะเสียคุณค่าไป แต่ถ้าเราไม่รับประทานน้ำในการหุงต้มควรใช้ปริมาณน้ำที่น้อย

อุณหภูมิและเวลา

การเก็บรักษาเราควรคำนึงถึงถึงชนิดของอาหารนั้นๆ เนื่องจากอาหารแต่ละชนิดนั้นมีลักษณะที่แตกต่างกันบางอย่างเราต้องแช่เย็น บางอย่างเราต้องแช่แข็ง หรือต้องเก็บนอกตู้เย็นเป็นต้น
ส่วนขั้นตอนการปรุงอาหาร อุณหภูมิและเวลาในการปรุงก็มีผลต้องคุณภาพของอาหารเช่นกันที่ต้องคำนึงถึง




ประเภทของการประกอบอาหาร

ประเภทของการประกอบอาหาร

                วิธีการประกอบอาหาร เป็นการทำอาหารให้สุก และรับประทานได้โดยวิธีต่างๆซึ่งการประกอบอาหารจะสามารถแบ่งเป็นวิธีการต่างๆได้หลายวิธี เช่น

o   การปิ้ง
o   การย่าง
o   การอบ
o   การเผา
o   การต้ม
o   การเคี่ยว
o   การนึ่ง
o   การตุ๋น
o   การผัด
o   การเจียว
o   การรวน
o   การทอด




การปิ้ง การย่าง การอบ การเผา

1.การปิ้ง ย่าง อบ เผา

·       การปิ้ง

                คล้ายกับการย่างแต่ใช้ไฟอ่อน และให้ความร้อนเสมอกัน เช่น การปิ้งขนมปัง อาหารบางชนิดที่อาจไหม้ได้ง่ายและเร็ว ควรห่อด้วยใบตองหรือกระดาษฟอยล์ก่อนนำไปปิ้ง เช่น ข้าวเหนียวปิ้ง



·       การย่าง
วิธีนี้นิยมใช้กับอาหารสด ใช้ไฟแรงพอประมาณ ขึ้นอยู่กับชนิดของอาหาร ก่อนย่างควรทาน้ำมันบนตะแกรงให้ชุ่ม เพื่อป้องกันไม่ให้อาหารติดตะแกรง ควรระวังอย่าให้มีเปลวไฟ เพราะจะทำให้อาหารไหม้ได้ ในขณะย่างต้องพลิกอาหารกลับไปมาเป็นระยะๆ เพื่อให้ความร้อนเข้าถึงด้านในและสุกอย่างทั่วถึง อาหารที่ย่างสุกแล้วจะมีกลิ่นหอม เหลือง กรอบ เช่น ไก่ย่าง ปลาดุกย่าง และปลาหมึกย่าง เป็นต้น




·       การอบ
เป็นการทำให้อาหารสุกด้วยการให้ความร้อนโดยรอบ อาหารที่อบจึงเหลือง กรอบและมีลักษณะแห้ง เช่น ไก่อบ ข้าวอบและคุกกี้ เป็นต้น ในปัจจุบันวิธีอบสามารถทำได้สะดวก เนื่องจากมีเตาอบที่สามารถอบอาหารได้หลายประเภท



·       การเผา


เป็นวิธีการที่ให้อาหารสัมผัสความร้อนโดยตรง โดยนำอาหารที่ต้องการเผาใส่ลงในไฟอ่อนๆ แรหารที่นำไปเผาจะเป็นอาหารที่มีเปลือก เช่น เมาเผา กุ้งเผาและปูปลา เป็นต้น เมื่อจะรับประทานให้แกะเปลือกออก



การต้ม การเคี่ยว

2.การต้ม การเคี่ยว

·       การต้ม

เป็นการทำอาหารให้สุกด้วยน้ำเดือด เช่น ต้มพะโล้ ต้มข่าไก่ แกงส้ม เป็นต้น การประกอบอาหารวิธีนี้จะสูญเสียคุณค่าทางโภชนาการได้ง่าย เนื่องจากสารอาหารจะละลายไปกับน้ำ ดังนั้นจึงควรรับประทานน้ำที่ต้มกับอาหารด้วย



·       การเคี่ยว


เครื่องปรุงรสอาหารของชาวล้านนา ที่ใช้วิธีเคี่ยว เช่น น้ำปู (อ่านว่า ”น้ำปู๋”) เป็นวิธีการที่นำปูมโขลกให้ละเอียด คั้นเอาแต่น้ำ แล้วนำไปเคี่ยวบนไฟแรงๆ จนเหลือแต่น้ำปูในหม้อ 2 ใน 3 ส่วน แล้วจึงลดไฟให้อ่อนลง เติมเกลือ บางคนชอบเผ็ด ก็โขลกพริกใส่ลงไปด้วย



การนึ่ง การตุ๋น


3.การนึ่ง การตุ๋น

·       การนึ่ง

                เป็นการทำอาหารให้สุกด้วยความร้อนจากไอน้ำ โดยต้มนำให้เดือด นำอาหารที่จะนึ่งใส่ในหม้อนึ่งหรือลังถึง แล้งนำขึ้นตั้งบนหม้อน้ำเดือด นึ่งจนอาหารสุก เช่น ห่อหมก ขนมเทียน ปลานึ่ง เป็นต้น วิธีจะช่วยสงวนคุณค่าของอาหารและรักษาสภาพของอาหารให้คงอยู่เช่นเดิม



·       การตุ๋น


                เป็นการทำให้อาหารสุกด้วยความร้อนจากน้ำเดือด โดยผ่านภาชนะสองชั้น ภาชนะชั้นนอกจะใส่น้ำแล้วนำอาหารที่จะตุ๋นใส่ภาชนะชั้นในตั้งลงในน้ำ นำไปวางบนเตา ตุ๋นจนกว่าอาหารจะสุก ในการตุ๋นควรใส่น้ำในภาชนะชั้นนอกให้สูงประมาณครึ่งหนึ่งของภาชนะชั้นในเพื่อไม่ให้น้ำลงไปในอาหารเวลาน้ำเดือด อาหารที่ประกอบด้วยวิธีการนี้ เช่น ไข่ตุ๋น เนื้อตุ๋นและเป็ดตุ๋น เป็นต้น อาหารที่สุกแล้วจะมีลักษณะเปื่อย นุ่ม